ในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการปฏิรูประบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมครั้งสำคัญ ทั้งในมิติของการพัฒนาระบบวิจัยและนวัตกรรม และการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเพื่ออนาคต โดยได้มีการจัดตั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) รวมถึงปรับเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของ “สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย” หรือ “สกว.” มาเป็น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เพื่อมารับภารกิจสำคัญในการส่งเสริม สนับสนุน และขับเคลื่อนระบบวิจัยและนวัตกรรม (ระบบ ววน.) ของประเทศ ให้ครอบคลุมทุกสาขาการวิจัยและวิทยาการทุกแขนง ตลอดจนสร้างองค์ความรู้ผพัฒนานโยบายสาธารณะ และสนับสนุนการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ในเชิงเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ด้วยการเปลี่ยนผ่านที่เกิดขึ้น สกสว. จึงริเริ่มดำเนินโครงการพัฒนาแบรนด์ สกสว. (Rebranding TSRI Project) ขึ้น เพื่อกำหนดทิศทางของแบรนด์ (Brand Direction) รวมทั้งพัฒนาตราสัญลักษณ์หรือโลโก้ใหม่ (Visual Identity หรือ Logo) ใหม่ เพื่อบ่งบอกอัตลักษณ์ที่สอดคล้องไปกับแบรนด์เพื่อสื่อสาร ฉายภาพภารกิจสำคัญ สิ่งที่ สกสว. จะทำและเป็นหลังจากนี้ รวมถึงสร้างการรับรู้องค์กรไปยังผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholder) ทั้งภาคนโยบาย ประชาคมวิจัย และสาธารณชนได้รับทราบ อันจะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างเครือข่าย สานพลังการขับเคลื่อนระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ระบบ ววน.) ที่สร้างคุณค่าและคุณูปการต่อประเทศร่วมกัน
โดยจากการเก็บข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก ทั้งจากมุมมองของผู้คนทั้งภายในและภายนอก ทั้งในส่วนของ คณะกรรมการอำนวย สกสว. ผู้บริหารและบุคลากร สกสว. ผู้บริหารหน่วยบริหารและจัดการทุน (พีเอ็มยู) ตลอดจนภาคเอกชนที่คร่ำหวอดในแวดวงการวิจัยและพัฒนานั้น เมื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์จนตกผลึก ทำให้ สกสว. ก็สามารถออกแบบกำหนดทิศทางแบรนด์ (Brand Direction) ได้ว่า เป็นแนวคิด “STRATEGIC GROWTH DASHBOARD” ซึ่งหมายถึง
ซึ่งทิศทางแบรนด์ดังกล่าวนั้น ก็จะสอดคล้องกับ วิสัยทัศน์ของ สกสว. คือ “สกสว. เป็นองค์กรหลักในการยกระดับศักยภาพและขับเคลื่อนระบบ ววน. อย่างมีส่วนร่วม เพื่อส่งมอบคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน และผลักดันให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว”
โดย “STRATEGIC GROWTH DASHBOARD” ประกอบด้วย 6 มิติ (Dimensions) สำคัญคือ
โดย 6 มิติตามทิศทางแบรนด์ นี้ได้ถูกนำมาไปใช้เป็นจุดตั้งต้นในการพัฒนาโลโก้ใหม่ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจมาจากเกมประเภท Puzzle ที่มีชื่อว่าการนำตัวต่อ “คาตามิโนะ” (Katamino) ของญี่ปุ่นมามีวิธีเล่นคือการนำชิ้นส่วนรูปทรงเรขาคณิตต่าง ๆ มาจัดเรียงต่อกันให้สมบูรณ์ภายในกรอบของตัวเกมตามโจทย์ที่กำหนด ผู้เล่นจะต้องคิดหาทางแก้ไข ใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อผ่านด่านแต่ละด่านไปให้ได้ จากง่ายไปสู่ยาก เนื่องจากผู้ออกแบบมองว่าเปรียบได้กับ บทบาทภารกิจของ สกสว. ที่จะต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้ในการสร้างกรอบ (นโยบาย) ด้าน ววน. ด้วยการจัดสรรทรัพยากร (งบประมาณ) การวิจัยอย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ เพื่อเป็นทรัพยากร (Resource) สำคัญ ในการพัฒนาระบบ ววน. ของประเทศ นั้น สกสว.และต้องเป็นองค์กรที่ทำงานอย่างมีกลยุทธ์ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างมีพลวัต (Dynamic) โดยไม่จำกัดรูปแบบการทำงาน เหมือนตัวต่อที่ถูกออกแบบรูปร่างไปได้เรื่อยๆ รวมถึงมีการเชื่อมต่อสอดประสานอย่างดีที่สุดกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในระบบ ววน.
นอกจากนี้ ในส่วนของการเลือกสีของโลโก้นั้น เลือกใช้สีน้ำเงินและใช้สีส้มและสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นคู่สีที่ตรงข้ามกัน (Contrast) โดยสีน้ำเงินสื่อความหมายถึง สติปัญญา ความสุขุม สงบ และละเอียดรอบคอบ ในขณะที่สีส้มนั้น นอกจากจะเป็นสีของวันพฤหัสบดี สีประจำวันพระบรมราชสมภพของบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทยแล้ว ขณะเดียวกันยังสื่อถึงความรู้สึกที่ชัดเจน ให้ความรู้สึกอิสระ มีความกล้าที่จะสร้างสรรค์ บอกความเป็นตัวตนของ สกสว.